เรื่องย่อ Kundun | คุนดุน องค์ดาไลลามะ
The Tibetans refer to the Dalai Lama as 'Kundun', which means 'The Presence'. He was forced to escape from his native home, Tibet, when communist China invaded and enforced an oppressive regime upon the peaceful nation. The Dalai Lama escaped to India in 1959 and has been living in exile in Dharamsala ever since.เป็นการเล่าที่มาขององค์ดาไลลามะที่ 14 (องค์ปัจจุบัน) ที่ต้องผ่านการตรวจสอบหลายขั้นตอน เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กคนนั้นคือ องค์ดาไลลามะที่ 13 จุติกลับมาเกิด ตลอดจนการดำเนินชีวิตของพระองค์ และเหตุที่ท่านต้องลี้ภัย ไปพำนักอาศัยที่ธรรมศาลา ประเทศอินเดีย จนถึงปัจจุบัน
ชื่อภาพยนตร์ คุนดุน แปลว่า คนปัจจุบัน มาจากคำสรรพนามที่ชาวทิเบตใช้เรียกทะไลลามะองค์ที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น สืบมาตั้งแต่สมัยทะไลลามะ องค์ที่หนึ่ง
ในภาพยนตร์กล่าวถึงเหตุการณ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1937 จนถึงปี ค.ศ. 1959 เริ่มจากการตามหาองค์ทะไลลามะองค์ใหม่ ที่เชื่อว่าเป็นทะไลลามะ องค์ที่สิบสามที่เพิ่งสิ้นพระชนม์ กลับชาติมาเกิดใหม่ จากนิมิตของเรทิงรินโปเช ที่รับหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการ และพบว่าเด็กชายอายุสองขวบ ชื่อ ลาโม ดอนดรุบ เป็นบุตรของชาวนาจากเมืองทักเซอร์ ใกล้ชายแดนจีน เป็นทะไลลามะองค์ที่สิบสามกลับชาติมาเกิด ลาโมถูกนำตัวเข้าพระราชวังโปตาลาตั้งแต่อายุสี่ขวบ ได้รับการสถาปนาพระนามว่า เท็นซิง เกียตโซ และได้รับการฝึกฝนเพื่อเตรียมพระองค์ สำหรับพิธีสถาปนาเป็นทะไลลามะ องค์ที่สิบสี่ เมื่อถึงเวลาอันควร
ช่วงชีวิตในวัยเด็กขององค์ทะไลลามะได้พบเห็นความขัดแย้งจากการเมืองในราชสำนัก และการที่ทิเบตถูกรุกรานโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชน ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน จนทรงมีความเป็นผู้ใหญ่เกินวัย พรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องการให้ทรงเป็นผู้นำหุ่นเชิดของรัฐบาลทิเบต และทำการกวาดล้างชาวทิเบตผู้รักชาติ ที่ต่อต้านทหารจีน พระองค์ไม่ต้องการเห็นการฆ่าฟันกัน และพยายามใช้กุศโลบายเพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรง ทั้งการเสด็จฯ ไปเยือนเหมา เจ๋อตุงถึงกรุงปักกิ่ง ในที่สุดจึงทรงตัดสินพระทัยหนีเล็ดลอดออกจากทิเบตพร้อมด้วยผู้ติดตาม ข้ามชายแดนอินเดียเพื่อขอลี้ภัยและตั้งรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่น ในปี ค.ศ. 1959 ขณะพระชนม์ 24 ปี
ชื่อภาพยนตร์ คุนดุน แปลว่า คนปัจจุบัน มาจากคำสรรพนามที่ชาวทิเบตใช้เรียกทะไลลามะองค์ที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น สืบมาตั้งแต่สมัยทะไลลามะ องค์ที่หนึ่ง
ในภาพยนตร์กล่าวถึงเหตุการณ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1937 จนถึงปี ค.ศ. 1959 เริ่มจากการตามหาองค์ทะไลลามะองค์ใหม่ ที่เชื่อว่าเป็นทะไลลามะ องค์ที่สิบสามที่เพิ่งสิ้นพระชนม์ กลับชาติมาเกิดใหม่ จากนิมิตของเรทิงรินโปเช ที่รับหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการ และพบว่าเด็กชายอายุสองขวบ ชื่อ ลาโม ดอนดรุบ เป็นบุตรของชาวนาจากเมืองทักเซอร์ ใกล้ชายแดนจีน เป็นทะไลลามะองค์ที่สิบสามกลับชาติมาเกิด ลาโมถูกนำตัวเข้าพระราชวังโปตาลาตั้งแต่อายุสี่ขวบ ได้รับการสถาปนาพระนามว่า เท็นซิง เกียตโซ และได้รับการฝึกฝนเพื่อเตรียมพระองค์ สำหรับพิธีสถาปนาเป็นทะไลลามะ องค์ที่สิบสี่ เมื่อถึงเวลาอันควร
ช่วงชีวิตในวัยเด็กขององค์ทะไลลามะได้พบเห็นความขัดแย้งจากการเมืองในราชสำนัก และการที่ทิเบตถูกรุกรานโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชน ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน จนทรงมีความเป็นผู้ใหญ่เกินวัย พรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องการให้ทรงเป็นผู้นำหุ่นเชิดของรัฐบาลทิเบต และทำการกวาดล้างชาวทิเบตผู้รักชาติ ที่ต่อต้านทหารจีน พระองค์ไม่ต้องการเห็นการฆ่าฟันกัน และพยายามใช้กุศโลบายเพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรง ทั้งการเสด็จฯ ไปเยือนเหมา เจ๋อตุงถึงกรุงปักกิ่ง ในที่สุดจึงทรงตัดสินพระทัยหนีเล็ดลอดออกจากทิเบตพร้อมด้วยผู้ติดตาม ข้ามชายแดนอินเดียเพื่อขอลี้ภัยและตั้งรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่น ในปี ค.ศ. 1959 ขณะพระชนม์ 24 ปี